top of page
Search
Writer's pictureYORA Expert

สุนัขสายพันธุ์อลาสกัน มาลามิวท์ อาหาร วิธีเลี้ยง [พร้อมราคา]

Updated: Aug 21



ข้อมูลทั่วไปสำหรับสุนัขพันธุ์อลาสกัน มาลามิวท์


อลาสกัน มาลามิวท์ (Alaskan Malamute) หรือชื่อเรียกสั้น ๆ ว่า มาลามิวท์ เป็นสุนัขเมืองหนาว ที่มาพร้อมขนาดตัวมหึมา และขนฟูฟ่องน่ากอด อลาสกัน มาลามิวท์มักโดนจำสลับกับ ไซบีเรียน ฮัสกี้ อยู่บ่อย ๆ ด้วยโครงหน้าและรูปร่างทางกายภาพที่คล้ายคลึงกัน ในเมืองไทย อลาสกัน มาลามิวท์ยังไม่ได้เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายนัก วันนี้ทาง Yora เลยจะพาเพื่อน ๆ มาทำความรู้จักเจ้าหมามาลามิวท์ให้มากขึ้น โดยในบทความนี้จะคอยแนะนำตั้งแต่วิธีการเลี้ยงดู อาหารการกิน และรายชื่อ ฟาร์มที่เพาะพันธุ์พวกมันด้วย มาดูกันเลย


ภาพรวมน้องหมาอลาสกัน มาลามิวท์

น้ำหนักเฉลี่ย

36-43 กิโลกรัม

ส่วนสูงเฉลี่ย

56-66  เซนติเมตร

อายุขัยเฉลี่ย

10-15 ปี

ลักษณะขน

ขนหนาสองชั้น

สีขน

สีขาว เทาขาว ดำขาว เงินขาว น้ำตาลแดงและขาว น้ำตาลเข้มและขาว เทาหม่นและขาว อะกูติ (มีสีขนมากกว่าหนึ่งสีในขนเส้นเดียวกัน)

นิสัย

ขี้เล่น เป็นมิตร ขี้อ้อน ชอบได้รับความสนใจ จงรักภักดี 

โรคที่ต้องระวัง

  • โรคข้อสะโพกเสื่อม (Hip Dysplasia)

  • โรคต้อกระจก (Cataracts)

  • โรคผิวหนังที่เกิดจากการขาดสังกะสี (Zinc-responsive dermatosis)



 

ประวัติของสุนัขพันธุ์อลาสกัน มาลามิวท์


อลาสกัน มาลามิวท์ เป็นที่รู้จักกันในนาม “สุนัขลากเลื่อน” ของเขตอาร์คติก และเป็นอีกหนึ่งสายพันธุ์สุนัขเก่าแก่จากไซบีเรียและแพร่พันธุ์มายังแถบอลาสก้าเมื่อประมาณ 4,000 กว่าปีที่แล้ว โดยนักวิชาการระบุว่าเผ่ามาลามิวท์ (Mahlamuts) หนึ่งในประชากรเอสกิโม อินนูอิต (Innuit) เป็นคนเลี้ยงดูพวกมันขึ้นมา จึงกลายเป็นที่มาของชื่อสายพันธุ์ “อลาสกัน มาลามิวท์ (Alaskan Malamute)” ต่อมาพวกมันได้รับการขึ้นทะเบียนสายพันธุ์อย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 1935 โดย American Kennel Club และกลายมาเป็นสุนัขพันธุ์ครอบครัวอย่างสมบูรณ์แบบ


ลักษณะนิสัยสุนัขพันธุ์อลาสกัน มาลามิวท์


ด้วยสัญชาติญาณแห่งการเป็นสุนัขลากเลื่อนประจำตระกูล หรือสัตว์ใช้งานมาก่อน เจ้าหมาอลาสกัน มาลามิวท์จึงมีความซื่อสัตย์ เชื่อฟัง และภักดีต่อเจ้าของของมันมาก แถมยังเป็นหนึ่งในสุนัขที่มีสมาธิสูง จดจ่อกกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ทำให้ง่ายต่อการฝึกฝนอีกด้วย อย่างไรก็ตามอลาสกัน มาลามิวท์อาจจะไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีสำหรับสุนัขเฝ้าบ้าน เพราะพวกมันไม่ชอบเห่าสักเท่าไหร่ ยังชอบพบปะมนุษย์ เฟรนด์ลี่กับทุกคนอีกด้วย แต่เจ้าของไม่ควรวางใจมากนักด้วยความที่พวกมันเป็นสัตว์ล่าเหยื่อมากก่อน ทำให้สัญชาติญาณมันมองว่าสัตว์ตัวเล็ก ๆ เช่นแมว กระต่าย หรือหนู เป็นเหยื่อ โดยถ้าไม่ได้รับการฝึกฝนให้ดีตั้งแต่เด็ก อาจจะเป็นอันตรายได้


มาตรฐานสายพันธุ์เเละลักษณะทางร่างกายที่ดีสำหรับสุนัขพันธุ์อลาสกัน มาลามิวท์


เมื่อเลือกซื้อสุนัขพันธุ์อลาสกัน มาลามิวท์ สิ่งที่คือต้องสังเกตุคือสีขนและลักษณะขนของพวกมัน โดยลักษณะกายภาพของมาลามิวท์ที่ตรงตามมาตรฐาน AKC คือ จะต้องมีขนที่ยาวและถูกยกไปด้านหลังเหมือนมีกระเป๋าขนนกที่สะพายไว้ มีขนที่หางตรงสลวย และมีขนเฉดสีเทา ขาว ดำ โดยอาจจะพบสีแดงน้ำตาลได้ในบางสายพันธุ์ย่อยของมาลามิวท์ อีกสิ่งจำเป็นที่ต้องสังเกตุเมื่อเลือกซื้ออลาสกัน มาลามิวท์คือสีของดวงตา โดยดวงตาของพวกมันจะเป็นทรงอัลมอนด์ หลากหลายเฉดสีน้ำตาล โดยอลาสกัน มาลามิวท์พันธุ์แท้ทุกตัวจะไม่มีดวงตาสีฟ้า



โรคที่ต้องระวังในสุนัขสายพันธุ์อลาสกัน มาลามิวท์


อลาสกัน มาลามิวท์เป็นสุนัขที่มีอายุขัยเฉลี่ย 15 ปี ซึ่งถึงว่านานที่สุดในบรรดาสุนัขสายพันธุ์ใหญ่ แถมยังไม่ค่อยมีปัญหาโรคภัยเท่าไหร่ แต่เจ้าของก็ไม่ควรประมาท เพราะยังมีบางอาการและโรคที่อาจจะเกิดขึ้นได้ โดยเจ้าของต้องคอยสังเกตุอาการและพาไปตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อความปลอดภัย


โรคข้อสะโพกเสื่อม (Hip Dysplasia) เช่นเดียวกันกับสุนัขสายพันธุ์ใหญ่ส่วนใหญ่ อลาสกัน มาลามิวท์ มีโอกาสพบสภาวะสะโพกเจริญเติบโตผิดรูปได้ถึง 10% โดยเกิดจากทั้งพันธุกรรม และอุบัติเหตุบริเวณข้อสะโพก หรือข้อต่อต่าง ๆ การออกกำลังกายอย่างเหมาะสมและลดปริมาณแคลเซียมเกินความจำเป็นจะช่วยชะลอการเกิดโรคได้


โรคต้อกระจก (Cataracts) จะพบได้บ่อยในหมู่อลาสกัน มาลามิวท์ ตั้งแต่อายุน้อยยันวัยแก่ โดยเกิดจากสภาวะโปรตีนในเลนส์ตาเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้จอประสาทตามีความสามารถในการมองเห็นน้อยลง ซึ่งการผ่าตัดเลนส์เทียมจะช่วยรักษาอาการของโรคได้


โรคผิวหนังที่เกิดจากการขาดสังกะสี (Zinc-responsive dermatosis) ถือเป็นอีกโรคสำหรับสุนัขเชื้อสายอาร์คติกอย่างอลาสกัน มาลามิวท์ ซามอยด์และไซบีเรียน ฮัสกี้ โดยเกิดจากการที่ร่างกายดูดซึมธาตุสังกะสีไปใช้ประโยชน์ได้น้อยกว่าปกติ ทำให้ขนร่วง ผิวหนังอักเสบได้


 

อาหารที่เหมาะสมสำหรับสุนัขสายพันธุ์อลาสกัน มาลามิวท์


อลาสกัน มาลามิวท์มีร่างกายที่แข็งแรง และมีการเคลื่อนไหวที่กระฉับกระเฉงกว่าสุนัขพันธุ์อื่น ๆ พวกมันจึงต้องได้รับสารอาหารที่พิเศษ เพื่อบริหารร่างกายให้สมดุลอยู่เสมอ โดยแต่ละช่วงอายุควรมีการจัดสรรปริมาณอาหารให้เหมาะสมตามนี้


อาหารที่เหมาะกับลูกสุนัขพันธุ์อลาสกัน มาลามิวท์ ช่วงอายุ 1-3 เดือน:

เพื่อให้ร่างกายได้เจริญเติบโตอย่างเต็มที่ อลาสกัน มาลามิวท์ ควรเริ่มทานอาหารเน้นจำนวนมื้อ มากกว่าเน้นปริมาณ​ โดยแบ่งสัดส่วนที่ควรได้รับตามน้ำหนักออกเป็น 4 มื้อ สามารถใช้อาหารสำเร็จรูปสำหรับลูกสุนัขพันธุ์ใหญ่ได้ เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วนที่สุด โดยเน้นไปที่โปรตีน


อาหารที่เหมาะกับสุนัขอลาสกัน มาลามิวท์ โตเต็มวัย อายุ 1 ปีขึ้นไป:

เมื่ออลาสกัน มาลามิวท์โตขึ้น จะมีหิวและอยากอาหารเพิ่มขึ้นมาก ดังนั้นเพื่อลดปริมาณอาหารที่อาจจะมากเกินความจำเป็นและนำไปสู่สภาวะอ้วน เจ้าของควรเน้นไปที่สารอาหารที่ทำให้อิ่มง่าย ให้พลังงานสูง จำพวกโปรตีนและคาร์โบไฮเดต โดย Yora Thailand อาหารสุนัขเกรดพรีเมี่ยม มีผลิตภัณฑ์สำหรับสายพันธุ์ใหญ่โดยเฉพาะ อุดมไปด้วยโปรตีนแมลง ให้สารอาหารสูงแต่ย่อยง่าย แถมมีส่วนผสมของ glucosamine chondroitin และ MSM (Methylsulfonylmethane) ในปริมาณที่สูง ช่วยบำรุงข้อต่อและกระดูก เพื่อชะลอสภาวะข้อสะโพกเสื่อม (Hip Dysplasia) ที่เป็นโรคอันดับหนึ่งของสุนัขสายพันธุ์ใหญ่ได้


อาหารที่เหมาะกับสุนัขอลาสกัน มาลามิวท์ สูงวัย อายุ 7 ปีขึ้นไป:

เมื่ออลาสกัน มาลามิวท์สูงอายุขึ้น ระบบการเผาผลาญเสื่อมขึ้น และความอยากอาหารจะน้อยลง จากปกติที่พวกมันทานโปรตีนจากเนื้อวัวเป็นหลัก ให้เปลี่ยนเป็นโปรตีนทางเลือก หรือโปรตีนจากไก่ ซึ่งจะช่วยให้ย่อยได้ง่ายขึ้น และเสริมด้วยวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ เพื่อให้พวกมันมีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงด้วย


วิธีการดูแลสุนัขอลาสกัน มาลามิวท์ ตั้งแต่เป็นลูกสุนัขจนถึงโตเต็มวัย


การดูแลลูกสุนัขอลาสกัน มาลามิวท์ ช่วงอายุ 1-3 เดือน


เจ้าหมาอลาสกัน มาลามิวท์ในวัยเด็ก น่ารัก น่าเอ็นดูเหมือนเด็กวัย 3-5 ขวบมาก พวกมันร่าเริง มีท่าทางและการเคลื่อนไหวที่ยังไม่คล่องตัวมากนัก เจ้าของควรพาพวกมันพาเดินสนามหญ้าหรือพื้นนุ่ม ๆ เพื่อให้ฝึกเดินในที่ ๆ ที่ไม่ลื่น ป้องกันอุบัติเหตุที่ส่งผลต่อกระดูกในระยะยาวได้ แถมนี่ยังเป็นช่วงที่ดีที่สุดในการฝึกอลาสกัน มาลามิวท์ให้เป็นมิตรต่อสัตว์เล็กทุกตัว เพราะโตไป ไม่ฉะนั้นอาจจะโตมาแล้วก้าวร้าวต่อสัตว์เล็กอื่น ๆ ที่มันมองเป็นเหยื่อได้


การดูแลสุนัขอลาสกัน มาลามิวท์โตเต็มวัย อายุ 1 ปีขึ้นไป


การเลี้ยงอลาสกัน มาลามิวท์ในพื้นที่โล่งกว้าง อุณหภูมิเย็นสบาย เป็นสิ่งสำคัญที่สุด อย่างไรก็แม้น้องมาจากเมืองหนาว แต่ก็ไม่ได้ควรเลี้ยงให้ติดแอร์อย่างเดียว พาพวกมันมาอยู่กับบรรยากาศข้างนอก โดยเปิดพัดลมให้มันบ้างก็ได้ เพื่อให้พวกมันได้ปรับตัวกับอุณภูมิในประเทศไทย


และเนื่องจากพวกมันเป็นสุนัขลากเลื่อน เจ้าของควรพาพวกมันไปออกกำลังกายบ่อย ๆ โดยส่วนใหญ่แล้ว การวิ่งออกกำลังกายวันละ 30 - 60 นาที ถือว่าเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสม


สำคัญที่สุดเลยคือการแปรงขนและการทำความสะอาด อลาสกัน มาลามิวท์เป็นสุนัขที่รักสะอาด แถมขนเยอะมาก การหมั่นแปรงขนให้ไม่พันและไม่หยาบจึงเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะดูแลให้พวกมันขนสวยงามไปตลอดช่วงชีวิต


ราคาหมาพันธุ์อลาสกัน มาลามิวท์


เมื่อคุณคิดว่าหมาพันธุ์อลาสกัน มาลามิวท์ คือหมาพันธุ์ที่ใช่สำหรับคุณแล้ว เรามาดูเรื่องราคากันดีกว่า ราคาสำหรับสุนัขสายพันธุ์อลาสกัน มาลามิวท์ จะขึ้นอยู่กับสายพันธุ์และสีของพวกมัน ส่วนมากจะอยู่ที่ช่วงราคา 45,000 - 60,000 บาท สำหรับคนที่ตัดสินใจแล้วว่าต้องการที่จะเลี้ยงสุนัขพันธุ์นี้ วันนี้ Yora ได้เตรียม ลิสฟาร์มอลาสกัน มาลามิวท์ ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่นิยมที่สุดในประเทศไทยมาให้เพื่อน ๆ ได้ไปเลือกซื้อน้องมาเลี้ยงกันได้เลย


5 อันดับฟาร์มอลาสกัน มาลามิวท์ยอดนิยมในประเทศไทย



 

เป็นยังไงกันบ้างครับ หลังจากที่ได้ทำความรู้จักน้องอลาสก้า มาลามิวท์กันไปพอสังเขปแล้ว ทางเรา หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่กำลังตัดสินใจว่าจะเลี้ยงน้องดีไหม หรือสำหรับเจ้าของน้องมาลามิวท์ทุกท่าน และสิ่งที่สำคัญที่สุดในการเลี้ยงสัตว์ คือความพร้อมในทุก ๆ ด้าน และหัวใจที่จะรับพวกมันมาเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว โดยเฉพาะเรื่องอาหารการกิน ถ้าน้องหมาของเราได้รับแต่สิ่งดี ๆ แล้ว จะทำให้พวกมันแข็งแรงอยู่กับเราไปอีกหลายชั่วอายุ ดังนั้นขอฝาก Yora อาหารสุนัขเกรดพรีเมี่ยม ที่ทำจากโปรตีนแมลง โภชนาการทางเลือกของสุนัขด้วยะครับ



21,133 views1 comment

1 Comment


CBKM BOCU
CBKM BOCU
Nov 02

EPTU Machine ETPU Moulding…

EPTU Machine ETPU Moulding…

EPTU Machine ETPU Moulding…

EPTU Machine ETPU Moulding…

EPTU Machine ETPU Moulding…

EPS Machine EPS Block…

EPS Machine EPS Block…

EPS Machine EPS Block…

AEON MINING AEON MINING

AEON MINING AEON MINING

KSD Miner KSD Miner

KSD Miner KSD Miner

BCH Miner BCH Miner

BCH Miner BCH Miner

Like
bottom of page