top of page
Search
Writer's pictureYORA Expert

เหมาเหงา: สัญญาณ อาการ วิธีดูแลและป้องกันโรคซึมเศร้าในสุนัข



น้องหมาของเราก็เหมือนกับเรา พวกเค้ามีความรู้สึก ต้องการความรักและการดูแลเอาใจใส่ หลายครั้งที่เจ้าของอาจไม่รู้ว่าน้องหมากำลังรู้สึก เหงา ซึ่งความเหงานี้สามารถทำให้น้องหมามีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป และส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตและร่างกายของพวกเค้าได้ 


หากคุณสงสัยว่าน้องหมาของคุณเหงา หรืออยากรู้วิธีป้องกันไม่ให้น้องหมาเหงา วันนี้ Yora Thailand จะพาเพื่อน ๆ ไปเจาะลึกกันว่า โรคเหงา หรือ โรคซึมเศร้าในสุนัขมีอาการแบบไหนและมีวิธีดูแลพวกเค้ายังไงบ้าง เพื่อให้น้องหมาของเรามีความสุขทุกวัน



 

อาการของหมาเหงา โรคซึมเศร้าในสุนัข



หากเพื่อน ๆ สังเกตเห็นพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของน้องหมา บางครั้งอาจเป็นสัญญาณว่าน้องหมาของคุณกำลัง เหงา ซึ่งนี่คืออาการที่มักพบเมื่อสุนัขรู้สึกโดดเดี่ยว


1. เห่าหรือหอนบ่อยเกินไป

สุนัขที่รู้สึกเหงามักจะพยายามเรียกร้องความสนใจจากเจ้าของโดยการเห่าหรือหอนบ่อยๆ แม้ในสถานการณ์ที่ไม่มีสิ่งกระตุ้น อาจเป็นการเห่าหรือหอนด้วยเสียงเศร้า ๆ แววตาเหม่อลอย การเห่าหรือหอนในลักษณะนี้อาจเป็นสัญญาณของความไม่สบายใจและต้องการเพื่อน


2. พฤติกรรมทำลายข้าวของ

ถ้าน้องหมาของคุณเริ่มกัดของหรือทำลายข้าวของภายในบ้าน เช่น รองเท้า โซฟา หรือของเล่น อาจเป็นเพราะความเครียดจากความเหงา พฤติกรรมนี้มักเกิดขึ้นเมื่อสุนัขรู้สึกโดดเดี่ยวและต้องการระบายความกดดันทางอารมณ์


3. นอนมากเกินไป

สุนัขที่เหงามักจะใช้เวลาส่วนใหญ่ในการนอน เนื่องจากพวกเขาไม่มีอะไรทำและรู้สึกเบื่อ แม้ว่าสุนัขบางตัวจะชอบนอน แต่การนอนมากเกินไปก็อาจเป็นสัญญาณว่าสุนัขกำลังรู้สึกเหงาและไม่มีแรงจูงใจในการเล่นหรือทำกิจกรรม


4. กินอาหารน้อยลงหรือมากขึ้น

ความเหงาสามารถทำให้น้องหมาเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน หากพวกเขาเริ่มกินน้อยลงหรือในบางกรณีกินมากขึ้น อาจเป็นการแสดงออกถึงความเครียดหรือความเบื่อหน่าย


5. ความเปลี่ยนแปลงในการขับถ่าย

หมาที่เหงาอาจเริ่มขับถ่ายไม่เป็นระเบียบ เช่น การขับถ่ายในที่ที่ไม่ควร แม้ว่าจะเคยฝึกขับถ่ายในที่ที่ถูกต้องแล้วก็ตาม นี่เป็นสัญญาณว่าน้องหมารู้สึกสับสนหรือเครียดจากความเหงา


6. ท่าทางเกร็ง ไม่ยอมให้จับตัว

เมื่อน้องหมามีอาการเหงา มักจะรู้สึกไม่ปลอดภัย และจะแสดงพฤติกรรมที่ไม่ค่อยเป็นปกติ เช่น การหางตก หูลู่ไปด้านหลัง และมีแววตาหวาดระแวง รวมถึงอาการเกร็ง นิ่ง ไม่อยากให้ใครเข้าใกล้ ดวงตาจะเบิกกว้างเผยให้เห็นตาขาวชัดเจน ซึ่งบ่งบอกถึงความกลัวหรือความไม่สบายใจ


7. กัดหางตัวเองและหมุนเป็นวงกลม

พฤติกรรมกัดหางตัวเองและหมุนเป็นวงกลมบ่งบอกถึงภาวะความเครียดสะสม เป็นลักษณะของการย้ำคิดย้ำทำ คล้ายกับคนที่กัดเล็บจนเป็นความเคยชิน สาเหตุส่วนใหญ่มาจากความกังวล หรือขาดกิจกรรมที่ช่วยระบายพลังงานในชีวิตประจำวัน หากพฤติกรรมนี้ไม่ได้รับการแก้ไข น้องหมาอาจกัดจนเป็นแผลเลือดออกและมีภาวะจิตใจที่ไม่ปกติได้


8. กัดแทะตัวเองจนเป็นแผล

หากสุนัขเริ่มมีพฤติกรรมกัดแทะตัวเอง เช่น ที่ขาหรือเล็บ และแน่ใจว่าไม่ใช่เพราะคันจากปัญหาผิวหนัง นั่นอาจแสดงถึงความเครียดหรือเบื่อหน่ายสะสม บางครั้งอาจเกิดจากความเหงาหรือการรอคอยเจ้าของเป็นเวลานาน ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด


9. ยกขาหน้าหนึ่งข้างบ่อยครั้ง

การยกขาหน้าหนึ่งข้างโดยไม่มีสาเหตุ เช่น ไม่ได้บาดเจ็บหรือมีอาการบาดเจ็บ อาจบ่งบอกถึงความวิตกกังวลและความไม่สบายใจ สังเกตได้จากแววตาที่ไม่สดใส หูลู่ หากพฤติกรรมนี้เกิดบ่อยและต่อเนื่อง อาจนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าในสุนัขได้ 


10. หางตกตลอดเวลา

หางที่ตกและลู่ไปทางด้านล่างบ่งบอกถึงความหวาดกลัวและความไม่ไว้วางใจ สุนัขจะแสดงพฤติกรรมนี้เมื่อรู้สึกถูกกดดันหรือไม่สบายใจ ถ้าหากสุนัขมีหางตกตลอดเวลาโดยไม่มีเหตุผลที่ชัดเจน อาจเป็นสัญญาณของภาวะซึมเศร้าที่ต้องระวัง


11. หูลู่ไปด้านหลัง แววตาไม่สดใส

แววตาของน้องหมาที่เรารักบอกถึงความรู้สึกของพวกเค้าได้อย่างชัดเจน หากสุนัขรู้สึกไม่สบายใจหรือมีภาวะซึมเศร้า แววตาของพวกเขามักจะขุ่นมัวและไม่สดใส หูลู่ไปทางด้านหลัง แสดงถึงความกังวล หากอาการเหล่านี้เกิดขึ้นต่อเนื่องและไม่มีการเปลี่ยนแปลง ควรปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อขอคำแนะนำในการดูแล



สาเหตุที่ทำให้หมาเหงา


การที่น้องหมาเกิดความเหงาอาจมาจากหลายปัจจัย ทั้งในเรื่องสิ่งแวดล้อมหรือกิจวัตรประจำวันของพวกเค้าา สาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้น้องหมารู้สึกเหงาได้แก่ 


1. การอยู่คนเดียวเป็นเวลานาน

หนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้น้องหมารู้สึกเหงาคือการต้องอยู่คนเดียวเป็นเวลานาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเจ้าของต้องไปทำงานนอกบ้านทั้งวัน สุนัขเป็นสัตว์สังคมที่ต้องการการปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์หรือสัตว์อื่น เมื่อพวกเขาถูกทิ้งไว้คนเดียวเป็นเวลานาน อาจทำให้รู้สึกเหงาและเบื่อ


2. ไม่มีการกระตุ้นทางจิตใจ

สุนัขต้องการการกระตุ้นทางจิตใจ เช่น การเล่น การฝึกฝน หรือการแก้ปัญหา การที่พวกเขาไม่ได้รับการกระตุ้นเหล่านี้อาจทำให้รู้สึกเบื่อและเหงา การเล่นเกมหรือฝึกคำสั่งใหม่ ๆ จะช่วยให้สุนัขรู้สึกตื่นเต้น ตื่นตัวและเหงาน้อยลงได้ 


3. การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม

การเปลี่ยนแปลงในบ้าน เช่น การย้ายบ้าน การสูญเสียสัตว์เลี้ยงตัวอื่น หรือการเปลี่ยนแปลงในกิจวัตรประจำวัน การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะทำให้พสกเค้ารู้สึกสูญเสียความมั่นคงทางอารมณ์ทำให้สุนัขรู้สึกว่าไม่มีที่พึ่ง ไม่ปลอดภัยและเหงาได้


4. การขาดปฏิสัมพันธ์กับสัตว์อื่น

สุนัขเป็นสัตว์ที่รักการมีเพื่อน การขาดปฏิสัมพันธ์กับสุนัขตัวอื่นหรือสัตว์เลี้ยงอื่นๆ อาจทำให้พวกเขารู้สึกโดดเดี่ยว การพาไปเดินเล่นหรือไปสวนสุนัขเพื่อพบปะเพื่อนใหม่จะช่วยลดความเหงาได้



วิธีป้องกันและดูแลเมื่อน้องหมามีอาการเหงา


หากเพื่อน ๆ สังเกตเห็นว่าน้องหมากำลังรู้สึกเหงา สิ่งสำคัญคือการหาวิธีช่วยให้น้องหมารู้สึกดีขึ้น ซึ่งสามารถป้องกันและดูแลน้อง ๆ ได้ดังนี้


1. เพิ่มเวลาการเล่น

ควรจัดเวลาสำหรับการเล่นเป็นประจำทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นการเล่นโยนลูกบอล วิ่ง หรือใช้ของเล่นที่กระตุ้นสติปัญญาเพื่อให้พวกเขารู้สึกมีความสนุกและไม่เบื่อ


2. สร้างกิจวัตรประจำวันให้ชัดเจน

การมีตารางเวลาและกิจวัตรที่ชัดเจนจะทำให้น้องหมารู้สึกมั่นคงและปลอดภัย ควรจัดเวลาสำหรับการกิน การเล่น และการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้พวกเขารู้สึกว่ายังมีสิ่งที่ต้องทำและไม่รู้สึกเหงา


3. พาออกไปเดินเล่นบ่อยขึ้น

การพาน้องหมาออกไปเดินเล่นนอกจากจะช่วยให้พวกเค้าได้ออกกำลังกายแล้ว ยังเป็นการเปิดโอกาสให้ได้เจอเพื่อนสุนัขตัวอื่นๆ หรือสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ ที่ทำให้พวกเขาตื่นเต้น การสัมผัสกับโลกภายนอกจะช่วยให้น้องหมารู้สึกสดชื่นและไม่รู้สึกเบื่อ


4. การให้ความรักและการดูแลเอาใจใส่

บางครั้งน้องหมาอาจต้องการเพียงแค่ความอบอุ่นและการดูแลจากเจ้าของ การให้ความรัก เช่น การลูบหัว การนั่งเล่นด้วยกัน หรือเพียงแค่อยู่ข้าง ๆ สามารถทำให้น้องหมารู้สึกมั่นใจและปลอดภัยมากขึ้นได้ 


5. หาเพื่อนให้สุนัข

การหาเพื่อนใหม่ให้พวกเขา เช่น สัตว์เลี้ยงตัวใหม่ หรือการพาไปสวนสุนัขเพื่อพบปะเพื่อนใหม่ๆ อาจช่วยลดความเหงาได้ การที่สุนัขได้มีปฏิสัมพันธ์กับสัตว์ตัวอื่นจะทำให้พวกเขามีความสุขมากขึ้น


6. ใช้ของเล่นที่ช่วยกระตุ้นสมอง

มีของเล่นหลากหลายชนิดที่ออกแบบมาเพื่อกระตุ้นสมองของสุนัข เช่น ของเล่นที่ต้องใช้ทักษะในการค้นหา ของเล่นแบบจิ๊กซอว์ การใช้ของเล่นเหล่านี้ช่วยให้พวกเขาได้ฝึกฝนทักษะ สมองมีการตื่นตัวและไม่รู้สึกเบื่อ


7. พาไปพบจิตแพทย์สุนัข

หากน้องหมามีอาการเหงาหรือพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง ควรพาไปพบนักพฤติกรรมสัตว์หรือจิตแพทย์สุนัข ที่มีความเชี่ยวชาญในการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาทางจิตใจของสุนัข ผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้สามารถช่วยวินิจฉัยสาเหตุที่ทำให้สุนัขรู้สึกเหงาและแนะนำวิธีการฝึกฝน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หรือการใช้เทคนิคต่าง ๆ เพื่อช่วยให้น้องหมารู้สึกดีขึ้น


 

อาการเหงาในสุนัขไม่ใช่เรื่องเล็กเพราะความเหงาสามารถส่งผลต่อสุขภาพจิตและร่างกายของน้องหมาได้โดยตรง เพื่อให้น้องหมาของคุณกลับมามีความสุขอีกครั้ง เพื่อน ๆ ก็สามารถใช้วิธีง่าย ๆ ตามที่  Yora Thailand แนะนำไปได้เลยนะครับ หากอาการยังไม่ดีขึ้น การปรึกษาผู้เชี่ยวชาญอย่างนักพฤติกรรมสัตว์หรือจิตแพทย์สุนัขอาจเป็นทางเลือกที่ดี ช่วยให้คุณได้รับคำแนะนำที่ตรงจุดและแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ 


การดูแลให้น้องหมามีความสุข เป็นเพื่อน เป็นสมาชิกครอบครัว ที่เต็มไปด้วยความรักและพลังบวกทุกวัน เป็นสิ่งเล็ก ๆ ที่เจ้าของทุกคนสามารถมอบให้พวกเค้าได้ อย่าลืมใส่ใจและดูแลน้องหมาของเพื่อน ๆ อย่างเต็มที่นะครับ เพราะความรักและความเอาใจใส่ที่เรามอบให้ จะทำให้น้องหมาของเรารู้สึกอบอุ่น มีความสุขในทุก ๆ วัน และอยู่กับเราไปนาน ๆ




5 views2 comments

2 Comments


CBKM BOCU
CBKM BOCU
Nov 02

EPTU Machine ETPU Moulding…

EPTU Machine ETPU Moulding…

EPTU Machine ETPU Moulding…

EPTU Machine ETPU Moulding…

EPTU Machine ETPU Moulding…

EPS Machine EPS Block…

EPS Machine EPS Block…

EPS Machine EPS Block…

AEON MINING AEON MINING

AEON MINING AEON MINING

KSD Miner KSD Miner

KSD Miner KSD Miner

BCH Miner BCH Miner

BCH Miner BCH Miner

Like

hi

Like
bottom of page