top of page
Search

หมาเป็นขี้เรื้อนทำยังไง? รู้จักโรคไรขี้เรื้อนในสุนัข อาการและการป้องกัน

Writer: YORA ExpertYORA Expert


สำหรับคนที่ ที่บ้านเลี้ยงน้องหมา หนึ่งในปัญหาที่หลายคนกังวลมากที่สุดก็คือเรื่องของโรคผิวหนัง โดยเฉพาะเมื่อพบว่าน้องหมาสุดที่รักเริ่มมีอาการคัน ผิวหนังแดง ขนร่วงเป็นหย่อม ๆ ซึ่งอาการเหล่านี้อาจบ่งบอกว่าสุนัขของคุณกำลังเผชิญกับ "โรคขี้เรื้อน" อยู่ก็ได้ หากหมาเป็นขี้เรื้อนทำยังไงดีล่ะ? วันนี้ Yora Thailand จะพาทาสหมาทั้งหลายมาเจาะลึกถึงโรคขี้เรื้อนในสุนัข เพื่อให้คุณเข้าใจและสามารถดูแลรักษาได้อย่างถูกวิธีกันครับ



 

โรคขี้เรื้อนคืออะไร?



โรคขี้เรื้อนในสุนัข หรือที่เรียกทางการแพทย์ว่า "โรคไรขี้เรื้อน" เกิดจากไรขนาดเล็กที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น เข้าไปอาศัยและเจริญเติบโตอยู่ในผิวหนังของสุนัข โดยไรเหล่านี้จะกัดกินเซลล์ผิวหนัง ทำให้เกิดการระคายเคือง คัน และเกิดปัญหาผิวหนังตามมา โรคนี้สามารถติดต่อได้ทั้งจากสุนัขสู่สุนัข และในบางกรณีอาจติดต่อถึงมนุษย์ได้ โดยโรคขี้เรื้อนจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้


1. โรคขี้เรื้อนเปียก (Demodectic Mange)

  • เกิดจากไร Demodex ที่อาศัยอยู่ตามรูขุมขนของสุนัขโดยธรรมชาติ 

  • ไร Demodex ปกติแล้วไม่ได้ทำให้เกิดโรค แต่เมื่อระบบภูมิคุ้มกันของสุนัขอ่อนแอ ไร Demodex จะขยายตัวมากผิดปกติจนเกิดเป็นโรคขี้เรื้อนเปียกได้

  • มักพบในลูกสุนัขหรือสุนัขที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ

  • ไม่ติดต่อระหว่างสุนัขด้วยกัน และไม่ติดต่อสู่คน


2. โรคขี้เรื้อนแห้ง (Sarcoptic Mange/ Scabies)

  • เกิดจากไร Sarcoptes Scabiei อาศัยอยู่บนผิวหนังชั้นหนังกำพร้า

  • ไร Sarcoptes Scabiei สามารถสืบพันธุ์และออกไข่ ทำให้เกิดการลามได้ไวมาก  

  • มักพบได้บ่อยในสุนัขจรจัด

  • มักทำให้เกิดอาการคันรุนแรง

  • ติดต่อได้ง่ายและไวระหว่างสุนัข และสามารถติดต่อถึงคนได้จึงจำเป็นต้องดูแลอย่างเคร่งครัด



อาการของโรคขี้เรื้อนในสุนัข


การสังเกตอาการเบื้องต้นมีความสำคัญอย่างมากในการวินิจฉัยและรักษาโรคได้ทันท่วงที โดยอาการที่พบบ่อยมีดังนี้


อาการของโรคขี้เรื้อนเปียก (Demodectic Mange)


ระยะเริ่มต้น:

  • เกิดจุดแดงเล็ก ๆ หรือรอยด่างบริเวณรอบตา ปาก

  • ขนร่วงเป็นวงกลมเล็ก ๆ ผิวไม่มีสะเก็ด

  • อาการคันไม่รุนแรงเท่าขี้เรื้อนแห้ง

  • ผิวหนังอาจมีสีแดงหรือชมพู


ระยะรุนแรง:

  • ขนร่วงเป็นบริเวณกว้าง ผิวหนังเป็นมัน

  • มีเม็ด มีตุ่มหนอง

  • มีน้ำเหลืองซึมตามผิวหนัง มีกลิ่นเหม็น

  • เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน

  • ผิวหนังหนาตัว เป็นปื้นสีเทาหรือน้ำตาล

  • ในกรณีรุนแรงอาจลุกลามไปทั่วตัว อาจพบอาการต่อมน้ำเหลืองโตร่วมด้วย 


ตำแหน่งที่พบบ่อย:

  • รอบดวงตา

  • บริเวณปาก

  • ขาหน้าทั้งสองข้าง

  • ลำตัวส่วนหน้า


อาการของโรคขี้เรื้อนแห้ง (Sarcoptic Mange/ Scabies)


ระยะเริ่มต้น:

  • เกิดผื่นแดงเล็ก ๆ คล้ายยุงกัด มักพบบริเวณใบหู ข้อศอก และท้อง

  • สุนัขจะแสดงอาการคันมาก เกาตลอดเวลาจนกระทั่งนอนไม่หลับ

  • ผิวหนังเริ่มมีรอยถลอกจากการเกา


ระยะรุนแรง:

  • ผิวหนังแห้งและหนาตัวขึ้น เป็นสะเก็ดสีเทาหรือเหลือง

  • ขนร่วงเป็นวงกว้าง โดยเฉพาะบริเวณขอบหู ข้อศอก และท้อง

  • เกิดแผลติดเชื้อแทรกซ้อนจากการเกาจนเป็นแผล

  • สุนัขมีอาการซึมเศร้า เบื่ออาหาร น้ำหนักลด


ตำแหน่งที่พบบ่อย

  • ขอบหู

  • ข้อศอก ข้อเข่า

  • ใต้ท้อง

  • บริเวณหน้าและจมูก


 


วิธีการรักษาโรคขี้เรื้อนในสุนัข


เมื่อสุนัขมีอาการขี้เรื้อน ไม่ว่าจะชนิดใดก็ตาม เจ้าของควรพาไปพบสัตวแพทย์โดยเร็วที่สุด เพราะการรักษาที่รวดเร็วจะช่วยให้หายได้เร็วและป้องกันการแพร่กระจายของโรค


  1. การวินิจฉัย สัตวแพทย์จะทำการขูดเพื่อเก็บตัวอย่างผิวหนังหรือขนไปส่องกล้องจุลทรรศน์เพื่อหาไรที่เป็นสาเหตุของโรค

  2. การรักษาด้วยยา สัตวแพทย์มักจะจ่ายยา เช่น ยาทา ยาหยดหลัง หรือยากินประเภทกำจัดไร รวมทั้งอาจมีการให้ยาลดอาการคันและอักเสบร่วมด้วย 

  3. การอาบน้ำรักษาโรค สัตวแพทย์อาจแนะนำให้ใช้น้ำยาอาบน้ำที่มีสารฆ่าไรขี้เรื้อน เพื่อช่วยลดจำนวนไรและบรรเทาอาการคัน

  4. การรักษาเพิ่มเติม ในกรณีที่มีการติดเชื้อแทรกซ้อน อาจจำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะเพิ่มเติมด้วย


 

การป้องกันโรคขี้เรื้อนในสุนัข


การป้องกันที่ดีจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคขี้เรื้อน โดยมีวิธีการดังนี้


การดูแลสุขภาพทั่วไป

  • ให้อาหารสุนัขที่มีคุณภาพ

  • พาไปตรวจสุขภาพประจำปี

  • ดูแลความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ

  • หลีกเลี่ยงความเครียด


การจัดการสภาพแวดล้อม

  • รักษาความสะอาดที่อยู่อาศัย

  • ซักทำความสะอาดที่นอนและอุปกรณ์

  • ควบคุมความชื้นในบ้าน

  • แยกอุปกรณ์ของสุนัขแต่ละตัว ในกรณีที่ที่บ้านเลี้ยงน้องหมาหลายตัว 


การเฝ้าระวัง

  • สังเกตอาการผิดปกติอย่างสม่ำเสมอ

  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสุนัขที่ไม่รู้ประวัติ

  • พาไปพบสัตวแพทย์ทันทีเมื่อพบความผิดปกติ


 

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับโรคขี้เรื้อนในสุนัข


Q: โรคขี้เรื้อนรักษาหายขาดไหม?

A: โรคขี้เรื้อนสามารถรักษาให้หายขาดได้ หากได้รับการวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้อง ทั้งนี้ต้องรักษาอย่างต่อเนื่องและครบกำหนด


Q: ใช้เวลานานแค่ไหนในการรักษา?

A: ระยะเวลาในการรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค โดยทั่วไปใช้เวลาประมาณ 4-8 สัปดาห์ หรือนานกว่านั้นในกรณีที่มีอาการรุนแรง


Q: สามารถป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำได้อย่างไร?

A: การป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำทำได้โดยการดูแลสุขภาพและสุขอนามัยอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงการจัดการสภาพแวดล้อมให้สะอาด


Q: ถ้าสังเกตเห็นอาการว่าน้องหมาอาจเป็นขี้เรื้อน ซื้อยามารักษาเองได้ไหม?

A: ยาแต่ละตัวนั้นมีผลข้างเคียงและข้อคำนึงในการใช้ที่แตกต่างกัน การใช้ยาจึงต้องใช้ภายใต้คำแนะนำของสัตวแพทย์เท่านั้น ห้ามซื้อมาใช้เองเป็นอันขาด


 

เพียงเท่านี้พ่อ ๆ แม่ ๆ ก็ได้เข้าใจวิธีรับมือหากน้องหมาเป็นขี้เรื้อน โรคขี้เรื้อนในสุนัขเป็นปัญหาที่สามารถรักษาและป้องกันได้ หากเจ้าของสังเกตอาการและพาไปพบสัตวแพทย์ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น การดูแลอย่างถูกวิธีและต่อเนื่องจะช่วยให้สุนัขหายจากโรคและมีสุขภาพที่ดี  อย่าลืมว่า การพบสัตวแพทย์เมื่อสงสัยว่าสุนัขเป็นโรคขี้เรื้อนเป็นสิ่งสำคัญ เพราะการวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้องจะช่วยให้สุนัขของคุณหายจากโรคได้เร็วขึ้น และป้องกันการแพร่กระจายของโรคไปยังสัตว์เลี้ยงตัวอื่นหรือคนในครอบครัว


นอกจากเรื่องสุขภาพของน้อง ๆ แล้ว เรื่องอาหารก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่เจ้าของต้องให้ความสำคัญ ยังไงเราก็ขอฝาก Yora อาหารสุนัขเกรด Holistic นำเข้าจากประเทศอังกฤษ ซึ่งทำมาจากโปรตีนแมลง ย่อยง่าย ให้โภชนาการสูง เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้น้องหมามีสุขภาพดี ผิวแข็งแรง ไว้ด้วยนะครับ



 
 
 

2 comentarios


Kabir Singh
Kabir Singh
a day ago

Feel the frenzy of desire with our enamoring Greater Kailash Escort Service. To choose only for you, these beautiful Greater Kailash call girls will fill any void in your life. An erotic night or a perfect dinner-the Greater Kailash escort service answers all your needs. Experience the magic today with our top Greater Kailash escorts Agency!

Me gusta

bottom of page