top of page
Search
Writer's pictureYORA Expert

12 โรคที่สุนัขแก่ต้องระวัง พร้อมคำแนะนำในการดูแล

Updated: Sep 22



โรคต่างๆในสุนัขที่สุนัขแก่ควรระวัง

โรคต่างๆในสุนัขแก่ที่เจ้าของอาจจะต้องพบเจอ แต่ไม่รู้จะจัดการอย่างไร อาการป่วยต่างๆเหล่านี้เป็นอาการหรือโรคที่สามารถพบเจอได้เมื่อสุนัขอายุเยอะขึ้น เช่น อาการหายใจแรง หอบหืด หรือ อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงต่างๆ สุดท้ายก็จะส่งผลไปถึงเรื่อง ไม่ยอมกินอาหาร ไม่ยอมขยับตัว และไม่ยอมเข้าสังคม วันนี้ Yora จะมาให้ข้อมูล 10 โรคในสุนัขว่ามีโรคอะไรบ้างและสอนวิธีดูแลหมาแก่และหมาหนุ่ม ที่มีโรคเหล่านี้ อย่างละเอียด และตอบทุกคำถามที่คุณสงสัย


1. โรคไตวายในสุนัข (Renal Failure)

โรคไตถือว่าเป็นหนึ่งในโรคในหมาแก่ที่อันตรายและน่ากังวลที่สุดในบรรดาโรคภัยต่างๆ อย่างที่เราทราบกันดีว่าไตเป็นอวัยวะสำคัญในการกำจัดของเสีย ควบคุมระดับแร่ธาตุต่างๆ ในร่างกายให้สมดุล ไม่ว่าจะเป็นโพแทสเซียม โซเดียม รวมทั้งน้ำในร่างกาย แต่เมื่อสุนัขแก่ตัวลง ความสามารถในการทำงานของระบบอวัยวะต่างๆ ก็เริ่มลดลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น การศึกษาวิจัยของสหรัฐอเมริกาได้ระบุว่ากว่า 20% ของสุนัขแก่ที่มีอายุมากกว่า 5 ปีมักเจอปัญหาโรคไตจนนำไปสู่การสูญเสียในที่สุด โดยโรคไตหรือไตวายถูกแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือไตวายเฉียบพลันและไตวายเรื้อรัง


อาการและวิธีการสังเกตุโรค : สิ่งที่น่ากลัวของโรคไตคือเจ้าตูบจะไม่แสดงอาการผิดปกติใดๆ จนกว่าไตจะถูกทำลายไปกว่า 2 ใน 3 ของเนื้อเยื่อทั้งหมด โดยอาการที่มักแสดงออกจะมีดังนี้

  • เบื่ออาหาร แต่ดื่มน้ำเยอะ

  • ซีด ซึม อาเจียน

  • หมาฉี่บ่อยกว่าปกติ

  • น้ำหนักลดลงอย่างเห็นได้ชัด

  • อุจจาระมีสีดำหรือมีเลือดปน

  • มีอาการชัก จากปริมาณของเสียในร่างกายที่มากเกินไป


วีธีการดูแลรักษา : ในกรณีที่เป็นภาวะไตวายเฉียบพลัน ถือว่าเป็นอันตรายและมีโอกาสการเสียชีวิตสูงมาก แต่หากพาไปพบหมอได้ทันท่วงทีก็สามารถรักษาให้หายและกลับมาเป็นปกติได้ อย่างไรก็ตาม สุนัขแก่ส่วนใหญ่มักเจอปัญหาป่วยเป็นโรคไตวายเรื้อรัง ซึ่งไม่สามารถรักษาให้กลับมาหายขาด แต่จะยังสามารถรักษาตามอาการโดยการพบสัตวแพทย์อย่างสม่ำเสมอ รวมถึงปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตให้ดีขึ้น โดยเฉพาะเรื่องอาหารที่ต้องเป็นสูตรควบคุมปริมาณโปรตีนสำหรับหมาป่วยโรคไตโดยเฉพาะ และการเตรียมน้ำสะอาดให้น้องหมาดื่มได้ตลอดเวลา


2. โรคตาฝ้าฟางหรือต้อกระจกในสุนัข (Cataract)

โรคต้อกระจก คือการที่เลนส์ตามีความขุ่นมัวเป็นสีขาวหรือเหลือง ซึ่งจะทำให้การมองเห็นของสุนัขลดลง มีสาเหตุมาจากการเสื่อมตามวัยจากอายุที่มากขึ้นของสุนัข ส่วนมากพบในน้องหมาที่มีอายุ 5 ปีขึ้นไป หรืออาจเกิดจากกรรมพันธุ์ อุบัติเหตุ หรือโรคบางโรค โดยอาการของหมาตาเป็นฝ้า จะค่อยๆ แสดงให้เห็นผ่านพฤติกรรมของสุนัขที่มีความสามารถในการมองเห็นที่ลดลง


อาการและวิธีการสังเกตุโรค

  • เดินชนสิ่งของ

  • การตอบสนองช้าลง

  • มีฝ้าขึ้นที่ตาดำ

  • ไม่สามารถเดินขึ้นลงบันไดได้

  • อาจเกิดอาหารหงุดหงิด ก้าวร้าว


วีธีการดูแลรักษา : การรักษาโดยทั่วไปจะใช้ยาสำหรับหยอดตา เพื่อชะลอไม่ให้ฝ้าที่ตาขยายตัวมากขึ้น แต่จะไม่สามารถทำให้อาการต้อกระจกหายไปได้เป็นปลิดทิ้ง สำหรับกรณีที่เป็นมาก สัตวแพทย์อาจจะแนะนำให้ผ่าตัดสลายต้อกระจกและเปลี่ยนใส่เลนส์แก้วตาเทียมด้วยคลื่นความถี่สูง(Phacoemulsification) ในส่วนของเจ้าของเอง อาจช่วยทำให้ชีวิตของหมาแก่ง่ายขึ้นโดยการเคลียร์บ้านให้สะอาดโล่ง เก็บสิ่งของที่เกะกะออก เพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากการเดินชนเพราะการมองเห็นไม่ชัดของน้องหมาครับ


3.โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงในสุนัข (Myasthenia Gravis)

โรคสุนัขขาไม่มีแรงเป็นอีกหนึ่งอาการไม่พึงประสงค์ที่มักพบได้ในสุนัขแก่ โดยสาเหตุหลักเกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทสั่งการ จากการที่ร่างกายผลิต Antibody มาขัดขวางการรับสัญญาณสื่อประสาท นำไปสู่อาการไม่มีแรงคล้ายกับอัมพาต ทำให้สุนัขไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ตามใจต้องการ ในบางตัวไม่สามารถเดินหรือวิ่งเล่นได้เหมือนปกติ และบางตัวอาจมีปัญหาเรื่องการกลืนอาหาร จนนำไปสู่อาการสำลักได้


อาการและวิธีการสังเกตุโรค

  • ไม่สามารถกลืนอาหารไม่ตามปกติ

  • กระพริบตาลำบาก

  • หายใจลำบาก

  • เสียงเห่าเปลี่ยนไป

  • กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ อ่อนแรง

วีธีการดูแลรักษา : ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาโรคหมาขาไม่มีแรงให้หายขาด แต่สัตวแพทย์จะจ่ายยากดภูมิเพื่อระงับการผลิต Antibody ออกมาเพิ่ม โดยน้องหมาอาจจะต้องทานยาไปตลอดชีวิตในกรณีที่อาการของโรคส่งผลต่อการเคี้ยวและกลืนอาหาร และเจ้าของควรใส่ใจสังเกตอาการของสุนัขอย่างสม่ำเสมอ


4.โรคเกี่ยวกับช่องปากและฟันในสุนัข (Periodontal Disease)

ปัญหาช่องปากไม่ใช่เรื่องเล่นๆ นะครับ โดยเฉพาะในสุนัขสูงอายุที่ถูกปล่อยปละละเลยเรื่องสุขภาพช่องปากมาอย่างยาวนาน มีจุดเริ่มต้นมาจากคราบพลัคที่สะสมจากแบคทีเรีย, น้ำลาย และเศษอาหารที่ติดค้างอยู่ในช่องปาก หากปล่อยไว้นานอาจเกิดการอักเสบเรื้อรัง เจ็บปวด และฟันหลุดได้ในที่สุด ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อการกินอาหารของเจ้าหมาครับ

อาการและวิธีการสังเกตุโรค

  • กินอาหารน้อยลง

  • ไม่ค่อยเคี้ยวอาหาร

  • มีกลิ่นปากเหม็น

  • เหงือกบวมแดง

  • เลือดออกตามเหงือก / ไรฟัน

วีธีการดูแลรักษา : ปัญหาโรคในช่องปากระยะเริ่มแรกสามารถรักษาให้หายได้โดยการขูดหินปูน และกำจัดแบคทีเรียต่างๆ ในช่องปาก แต่หากมีอาการของโรคที่ค่อนข้างรุนแรงและเรื้อรัง อาจต้องมีการวางยาสลบเพื่อทำศัลยกรรมรักษาเพิ่มเติม เจ้าของควรดูแลเรื่องความสะอาดของช่องปากสุนัข หมั่นแปรงฟัน หรือเลือกอาหารที่มีส่วนช่วยขัดฟัน รวมถึงพาสุนัขไปพบสัตวแพทย์เพื่อดูแลเรื่องสุขภาพโดยรวมเป็นประจำทุกปี


5. โรคหัวใจในสุนัข (Heart Diseases)

ภาวะหัวใจล้มเหลวคือหนึ่งปัญหาของโรคหัวใจที่ทำให้เจ้าของหลายๆ คนกลัว เกิดขึ้นจากการที่สุนัขแก่ตัวลงทำให้ความสามารถในการสูบฉีดเลือดลดลง ซึ่งส่งผลโดยตรงกับอวัยวะอื่นๆ ทั้งหมดในร่างกายที่จะไม่ได้รับเลือดมาหล่อเลี้ยงมากเพียงพอ จนนำไปสู่ภาวะระบบร่างกายล้มเหลวในที่สุด


อาการและวิธีการสังเกตุโรค

  • อ่อนแรง เหนื่อยง่ายกว่าปกติ

  • ซึม ไม่ร่าเริงเหมือนเก่า

  • หายใจหอบ

  • ไอแห้ง (โดยเฉพาะกลางคืน)

  • เบื่ออาหาร

วีธีการดูแลรักษา : หากสุนัขของคุณถูกวินิจฉัยเป็นโรคหัวใจ สัตวแพทย์จะให้ยารักษาโรคหัวใจ โดยเจ้าของจะต้องใส่ใจและดูแลอย่างใกล้ชิด ห้ามหยุดการให้ยาโดยพละการ เนื่องจากนั่นอาจทำให้การรักษาหยุดชะงักและมีอาการที่รุนแรงมากกว่าเดิม ที่สำคัญควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหนักๆ หรือกิจกรรมที่ทำให้เหนื่อยง่าย


6. โรคมะเร็งและเนื้องอกในสุนัข (Dog Cancer)

เช่นเดียวกันกับมนุษย์ที่ไม่มีใครอยากถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็ง น้องหมาก็เช่นกันครับ แต่การควมคุมไม่ให้เกิดนั้นอยู่นอกเหนือความคาดหมาย โดยอาจเกิดจากหลายปัจจัยทั้งกรรมพันธุ์, อาหาร, วิถีชีวิต และชนิดของมะเร็งก็เป็นอีกหนึ่งอย่างที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้เช่นกันครับ

จริงๆ แล้วสุนัขทุกตัวมีโอกาสเกิดมะเร็ง แต่หากสุขภาพโดยรวมของน้องหมาแข็งแรงก็จะช่วยลดโอกาสการเกิดมะเร็งได้หลายเท่า ปัจจัยเดียวที่เราสามารถควบคุมได้คือเรื่องของอาหารการกิน และสุขภาพจิตของสุนัข ควรใส่ใจเลือกอาหารที่มีคุณภาพ ถูกหลักโภชนาการ ไร้สารแปลกปลอม

อาการและวิธีการสังเกตุโรค

  • เบื่ออาหาร กลืนลำบาก

  • น้ำหนักลดลงอย่างเห็นได้ชัด

  • เกิดก้อนเนื้อใต้ผิวหนัง

  • แผลหายช้า

  • ขับถ่ายผิดปกติ

  • หายใจลำบาก มีอาการไอ สำลัก

  • มีเลือด/ของเหลวไหลออกมาจากรูทวาร

วีธีการดูแลรักษา : วิธีการรักษามะเร็งในสุนัขขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็ง และระยะของโรค ในการจะตัดสินใจเลือกวิธีการรักษา สัตวแพทย์ต้องวินิจฉัยจากปัจจัยหลายอย่าง ทั้งอายุของสุนัข, ชนิดของมะเร็ง, ระยะของมะเร็ง และสุขภาพโดยรวมของเจ้าหมา โดยการรักษาอาจเป็นการผ่าตัด (Surgery), ใช้คีโม (Chemotherapy), การฉายแสง (Radiation Therapy) หรือแนวทางสมุนไพรบำบัด (Herbal Therapy)


แน่นอนว่าหากเจ้าหมาแก่ของเราถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งแล้ว การรักษาถือว่ามีเปอร์เซ็นต์ให้หายขาดค่อนข้างน้อย เพราะฉะนั้นสิ่งที่เจ้าของควรทำคือหมั่นสังเกตความผิดปกติของอาการน้องหมา หรือหากมีโอกาสได้อาบน้ำสุนัขบ่อยๆ อย่าลืมสัมผัสดูความผิดปกติของร่างกายสุนัข หากจับแล้วพบก้อนเนื้อหรือตุ่มนูนเกิดขึ้น ขออย่ารอช้า ต้องรีบพาไปพบคุณหมอทันทีนะครับ


7. โรคพยาธิเม็ดเลือดในสุนัข (Canine Blood Parasites)

พยาธิเม็ดเลือดถือว่าเป็นปีศาจร้ายสำหรับสุนัขก็ว่าได้ครับ เพราะไม่ว่าเจ้าหมาจะอายุเท่าไหร่ จะเด็กหรือจะแก่ ก็มีโอกาสเผชิญหน้ากับโรคร้ายนี้ได้จากพาหะอันตราย คือ ‘เห็บหมัด’ ถ้าเทียบกันง่ายๆ โรคพยาธิเม็ดเลือดก็คล้ายๆ กับไข้เลือดออกในคนครับ เห็บจะเป็นตัวนำเชื้อโปรโตซัวจากหมาตัวหนึ่งสู่อีกตัวหนึ่ง และการกัดของเห็บเพียงแค่นิดเดียวก็สามารถส่งต่อเชื้อโรคได้แล้วล่ะครับ


อาการและวิธีการสังเกตุโรค

  • ไม่ร่าเริงเหมือนปกติ มีอาการซึม

  • ไม่ยอมกินอาหาร หรือกินน้อยลง

  • มีไข้ ตัวร้อน

  • เหงือกซีด มีจ้ำตามตัว

  • ถ่ายเป็นเลือด (ขั้นรุนแรง)

วีธีการดูแลรักษา : ข่าวดีก็คือโรคพยาธิเม็ดเลือดสามารถรักษาให้หายขาดได้ครับ โดยการให้ยาฆ่าเชื้อ ยาลดไข้ และวิตามินบำรุงร่างกายเพื่อให้สุนัขฟื้นตัวได้ไว แต่ก็ยังต้องตรวจเลือดเป็นระยะเพื่อให้แน่ใจว่าค่าเกล็ดเลือดของน้องหมากลับมาอยู่ในระดับปกติ นอกเหนือจากนี้ยังต้องคอยระมัดระวังเรื่องเห็บหมัดไม่ให้กัดน้องหมาอีก เพราะต่อให้เคยเป็นโรคนี้แล้ว ก็ยังมีโอกาสกลับมาเป็นได้อีกครั้ง


8. โรคกระดูกและข้อเสื่อมในสุนัข (Osteoarthritis or Degenerative Joint Disease)

สุนัขหลายๆ ตัวมักเจอกับปัญหากระดูกและข้อเสื่อมเมื่ออายุมากขึ้น โดยโรคที่เจอได้ง่ายในสุนัขแก่สายพันธุ์ใหญ่คือ ‘โรคข้อสะโพกเสื่อม (Hip Dysplasia)’ ที่เกิดจากความผิดปกติของข้อต่อที่อาจหลวมกว่าปกติจากการใช้งานอย่างหนักมาทั้งชีวิตที่ทำให้เกิดการเสียดสีกันระหว่างกระดูกมากกว่าปกติ จนเกิดการสึกหรอและเกิดอาการเจ็บปวดในที่สุด


อาการและวิธีการสังเกตุโรค

  • เริ่มทรงตัวไม่ได้ เดินเซ

  • หมาขาไม่มีแรง

  • แสดงอาการเจ็บขาอย่างชัดเจน

  • ไม่ร่าเริง ไม่วิ่งเล่นเหมือนเก่า

  • ลุกยืนลำบาก

วีธีการดูแลรักษา : ในกรณีที่สุนัขมีอาการกระดูกและข้อเสื่อมไม่รุนแรง การรักษาขั้นต้นจะเป็นการให้ยาแก้อักเสบและลดปวดเพื่อบรรเทาอาการ ควบคู่กับแนะให้เจ้าของเลือกอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่เหมาะสม ทางที่ดีเลือกอาหารสุนัขที่มีส่วนประกอบของสาร Glucosamine ที่จะช่วยต้านการอักเสบของโรคกระดูกและข้อโดยตรง และหากน้องหมาอาการดีขึ้นแล้ว ก็ควรให้น้องออกกำลังกายเบาๆ เพื่อลดน้ำหนัก อย่างการเดินเล่น หรือการว่ายน้ำ เป็นต้น รวมไปถึงการทำกายภาพบำบัดเพื่อให้กล้ามเนื้อแข็งแรง อีกทั้งยังลดอาการเจ็บได้อีกด้วย แต่ในกรณีที่อาการรุนแรงสัตวแพทย์อาจพิจารณาผ่าตัดได้


9. โรคอ้วนในสุนัข (Obesity)

ผลวิจัยพบว่า สุนัขสูงอายุกว่า 40-45% มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน และนั่นอาจนำไปสู่จุดเริ่มต้นของโรคภัยต่างๆ ยามแก่ ถึงแม้ตัวโรคอ้วนเองจะไม่ได้ส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพของสุนัข แต่นี่คือหนึ่งปัจจัยที่จะส่งผลให้เกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมา เช่น โรคเบาหวาน, โรคหัวใจ,โรคข้อต่ออักเสบ, นิ่วในกระเพราะปัสสาวะ รวมไปถึงมะเร็งบางชนิดได้ อย่างที่เราเคยได้ยินคำเตือนกันนะครับว่า ‘อย่าให้สุนัขกินอาหารคน’ เพราะนอกจากสารอาหารที่จะได้ไม่ครบถ้วนแล้ว น้องหมาอาจจะยังได้รับพลังงานจากอาหารที่มากเกินไป สะสมจนกลายเป็นโรคอ้วนซึ่งอาจทำให้อายุขัยของน้องหมาสั้นลงได้ครับ


อาการและวิธีการสังเกตุโรค

  • คลำซี่โครงของสุนัขไม่พบ

  • สุนัขมีน้ำหนักที่มากเกินมาตรฐาน

  • มีปัญหาเรื่องการหายใจ เช่นหายใจแรงหรือนอนกรน

  • เคลื่อนไหวร่างกายช้าลง นอนมากขึ้น

  • ติดนิสัยขออาหารเพิ่ม ทั้งๆ ที่อิ่มแล้ว

วีธีการดูแลรักษา : สิ่งสำคัญในการรักษาโรคอ้วนของสุนัขเริ่มที่วิธีการเลี้ยงครับ เจ้าของควรระลึกไว้เสมอว่า หากเราสามารถแก้ที่ต้นเหตุได้ ก็จะช่วยลดปัญหาที่อาจตามมาของสุนัขแก่ การให้อาหารที่เหมาะสมและการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอคือสิ่งสำคัญที่สุด ถึงแม้ผลลัพธ์จะไม่ได้แสดงให้เห็นในเวลาอันสั้น แต่การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตน้องหมาตั้งแต่วันนี้ และใส่ใจเลือกอาหารสุนัขสูงอายุที่มีคุณภาพ จะช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคต่างๆได้หลายเท่าเลยล่ะครับ


Yora Thailand ขอแนะนำอาหารสุนัขสูงวัยคุณภาพพรีเมี่ยม ที่ถูกพัฒนามาเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของสุนัขสูงวัยโดยเฉพาะ อุดมไปด้วยสารอาหารจำเป็นอย่าง Glucosamine Chondroitin ที่จะช่วยบำรุงกระดูกและข้อต่อของสุนัขสูงวัยให้แข็งแรง รวมถึงมีปริมาณโปรตีนที่พอเหมาะ ไขมันปริมาณต่ำเพื่อลดปัญหาโรคอ้วน ยังมีส่วนผสม lycopene และสมุนไพรธรรมชาติเช่น Marigold, Milk thistle และ Peppermint เพื่อช่วยบำรุงสายตาและต่อต้านอนุมูลอิสระอีกด้วย


10. โรคเบาหวานในสุนัข (Diabetes)

โรคเบาหวานคือภาวะที่น้ำตาลในกระแสเลือดสูงเกินไปจากความผิดปกติของอินซูลิน ข้อน่ากังวลคือโรคนี้มักเกิดในสุนัขสูงอายุ การที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงจะนำไปสู่ภาวะเลือดเป็นกรด ซึ่งจะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆ จนทำให้การรักษานั้นยากขึ้นกว่าเดิมครับ


อาการและวิธีการสังเกตุโรค

  • ดื่มน้ำบ่อยกว่าปกติ

  • ปัสสาวะบ่อย

  • เบื่ออาหาร

  • เพลีย ไม่มีแรง

  • มีอาเจียนสำหรับสุนัขบางตัว

วีธีการดูแลรักษา : เช่นเดียวกับมนุษย์ โรคเบาหวานในสุนัขก็ไม่สามารถหายขาดได้เช่นกัน แต่จะเป็นการควบคุมโรคโดยการให้อินซูลินอย่างสม่ำเสมอ และควบคุมอาหารเป็นพิเศษ โดยเจ้าของต้องคอยพาน้องหมาไปพบคุณหมอตามนัด สังเกตอาการผิดปกติ รวมถึงฉีดอินซูลินอย่างสม่ำเสมอตามคำแนะนำของสัตวแพทย์


Thonglor Pet Hospital ได้ให้คำแนะนำไว้ว่าหมาเป็นเบาหวานควรกินอาหาร และฉีดอินซูลินตามปริมาณและเวลาที่กำหนดอย่างสม่ำเสมอ ที่สำคัญควรเคร่งครัดเรื่องอาหารที่หมอกำหนดเท่านั้น ไม่ควรให้อาหารใดๆ นอกเหนือจากคำแนะนำของแพทย์ เพราะนั่นอาจนำไปสู่การแปรปรวนของน้ำตาลในเลือดได้ครับ


11. ภาวะสมองเสื่อมในสุนัข (Cognitive Dysfunction Syndrome: CDS)

ภาวะสมองเสื่อมในสุนัขมีลักษณะคล้ายกับโรคอัลไซเมอร์ในมนุษย์ ซึ่งเกิดจากการเสื่อมของเซลล์สมองเมื่อสุนัขเข้าสู่วัยชรา เซลล์สมองที่เสียหายจะทำให้การส่งสัญญาณประสาทช้าลงหรือไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเหมือนเดิม นอกจากนี้ การสะสมของสารอะไมลอยด์ (Amyloid) ในสมองและการลดลงของสารสื่อประสาทในสมองก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะนี้ ทำให้ความสามารถในการประมวลผลข้อมูล ความจำ และการรับรู้ลดลง ส่งผลให้พฤติกรรมและบุคลิกภาพของสุนัขเปลี่ยนไปมาก ภาวะนี้มักเกิดในสุนัขที่มีอายุมากกว่า 10 ปีขึ้นไป


อาการและวิธีการสังเกตโรค

  • ลืมสถานที่ที่คุ้นเคย

  • เดินวนไปวนมา

  • ไม่ตอบสนองต่อคำเรียก

  • นอนมากผิดปกติ

  • มีอาการสับสนและกังวลใจ

  • การขับถ่ายผิดปกติ

  • การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เช่น มีอาการหงุดหงิด หรือเปลี่ยนไปเป็นหมาเงียบเก็บตัว


วิธีการดูแลรักษา : ควรเน้นการกระตุ้นสมองด้วยกิจกรรมฝึกความจำ เช่น เกมหรือของเล่นที่ท้าทาย ฝึกทำกิจวัตรประจำวันใหม่ ๆ เพื่อชะลอการเสื่อมของสมอง หรือฝึกให้ทำกิจวัตรที่เวลาและสถานที่เดิมเป็นประจำ เพื่อช่วยให้จดจำง่ายขึ้น ในเรื่องของอาหาร สุนัขควรได้รับอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น DHA และ EPA ช่วยบำรุงสมอง นอกจากนี้ก็ควรพาไปพบสัตวแพทย์สม่ำเสมอเพื่อประเมินอาการ และอย่าลืมดูแลทางอารมณ์ ด้วยความรักและการเอาใจใส่ เพื่อให้พวกเขารู้สึกปลอดภัย


12. โรคพาร์กินสันในสุนัข (Canine Parkinson's Disease)

โรคนี้มีลักษณะคล้ายคลึงกับโรคพาร์กินสันในคน ซึ่งโรคพาร์กินสันในสุนัขนั้นเกิดจากการเสื่อมของระบบประสาท โดยเฉพาะสมองส่วน Basal Ganglia ที่ควบคุมการเคลื่อนไหว ทำให้สุนัขมีปัญหาการเดินและประสานงานของกล้ามเนื้อ รวมถึงอาการสั่นขณะพัก สาเหตุหลักมาจากการเสื่อมของเซลล์ประสาทที่สร้างโดพามีน (Dopamine) ซึ่งส่งผลให้การควบคุมการเคลื่อนไหวผิดปกติ ทั้งนี้ก็เกิดจากปัจจัยอื่น ๆ ได้ด้วย เช่น การอักเสบของสมอง โรคติดเชื้อในระบบประสาท หรือการได้รับสารพิษ


อาการและวิธีการสังเกตโรค

  • การเคลื่อนไหวช้า

  • สั่นเมื่อพักผ่อนย

  • เดินลำบาก 

  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง

  • การทรงตัวไม่ดี มีการลื่นไถล หรือตกสะดุด


วิธีการดูแลรักษา : การดูแลสุนัขที่เป็นโรคพาร์กินสันควรเน้นไปที่การบรรเทาอาการ โดยใช้ยาควบคุมอาการสั่นตามคำแนะนำของสัตวแพทย์ ปรับสภาพแวดล้อมในบ้านให้ปลอดภัยด้วยการปูพรมและลดสิ่งกีดขวาง การออกกำลังกายเบา ๆ อย่างการเดินช่วยเสริมความแข็งแรง และการให้อาหารที่บำรุงสมองอย่าง โอเมก้า-3 ดูแลทางอารมณ์ด้วยความรักและเอาใจใส่ และควรพาน้องไปพบสัตวแพทย์เพื่อติดตามอาการอย่างสม่ำเสมอ


 

ทาง Yora Thailand หวังว่าบทความนี้จะช่วยทำให้เจ้าของที่มีสุนัขสูงอายุได้เรียนรู้ เข้าใจ

และเตรียมตัวป้องกันโรคต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับน้องหมานะครับ




10,606 views2 comments

2 commentaires


CBKM BOCU
CBKM BOCU
02 nov.

EPTU Machine ETPU Moulding…

EPTU Machine ETPU Moulding…

EPTU Machine ETPU Moulding…

EPTU Machine ETPU Moulding…

EPTU Machine ETPU Moulding…

EPS Machine EPS Block…

EPS Machine EPS Block…

EPS Machine EPS Block…

AEON MINING AEON MINING

AEON MINING AEON MINING

KSD Miner KSD Miner

KSD Miner KSD Miner

BCH Miner BCH Miner

BCH Miner BCH Miner

J'aime

CBKM BOCU
CBKM BOCU
02 nov.

EPTU Machine ETPU Moulding…

EPTU Machine ETPU Moulding…

EPTU Machine ETPU Moulding…

EPTU Machine ETPU Moulding…

EPTU Machine ETPU Moulding…

EPS Machine EPS Block…

EPS Machine EPS Block…

EPS Machine EPS Block…

AEON MINING AEON MINING

AEON MINING AEON MINING

KSD Miner KSD Miner

KSD Miner KSD Miner

BCH Miner BCH Miner

BCH Miner BCH Miner

J'aime
bottom of page